ข้อมูล อบต.
ประวัติความเป็นมาชื่อตำบลท่าเสา ได้มาโดยที่ว่าสมัยก่อนนั้น บ้านท่าเสามีสถานีรถไฟที่ชุมชน บริเวณน้ำตกไทรโยค-น้อย ประกอบกับชุมชนบริเวณนั้น ที่มีอาชีพ ชัก - ลากไม้ เป็นประเภทเสาเรือนร้อย และได้ลากไม้เสาลงไปท่าน้ำ เพื่อลำเลียงลงไปยังที่อื่น จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า หมู่บ้านท่าเสา และด้วยความที่มีชุมชนอยู่หนาแน่นและมีความเจริญ อยู่มากกว่าหมู่บ้านอื่น จึงใช้หมู่บ้านนี้ ตั้งชื่อเป็น ตำบลท่าเสา เมื่อ พ.ศ. 2512 |
วิสัยทัศน์และพันธกิจวิสัยทัศน์การพัฒนา “ ชุมชนเข้มแข็ง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกษตรก้าวไกล เลิศล้ำภูมิปัญญาท้องถิ่น ” พันธกิจ 1. ด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว จัดให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ชำรุดทรุดโทรมให้คงสภาพ มีการบริหาร จัดการการท่องเที่ยวให้เป็นระบบ พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เช่น ให้ความรู้ด้านภาษา ความรู้ด้านการเกษตร ว่าด้วยเรื่องการเพิ่มผลผลิต และสนับสนุนให้มีสหกรณ์ประจำ องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นศูนย์สาธิตการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ในราคาที่ถูกและลดต้นทุน การผลิตเพิ่มซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเกษตร และส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกร โดยจัดฝึกอบรมให้ เกษตรกรได้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ อีกทั้งส่งเสริมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลให้มีแหล่งตลาดรับซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นรายได้ให้แก่กลุ่มอาชีพแบบยั่งยืน 2. การบริการทางสังคม 2.1 ด้านการพัฒนาสังคม 2.1.1 ดูแลและให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ปุวยเอดส์ 2.1.2 พัฒนาเด็ก เยาวชน สตรีและผู้ด้อยโอกาส พร้อมทั้งส่งเสริมสถาบัน ครอบครัวให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างบทบาทให้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาท้องถิ่น 2.1.3 สนับสนุนการรวมตัวของชุมชนให้เข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน 2.1.4 ส่งเสริมให้คนในครอบครัวและชุมชนเกิดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ของตนเองและ สนับสนุนกิจกรรมขององค์กร 2.1.5 ส่งเสริมด้านศาสนา อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ท้องถิ่นและ ภูมิปัญญาชาวบ้าน 2.2 ด้านการศึกษา ให้ความสำคัญและส่งเสริมการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ ๒๕๔๒ พัฒนาปรับปรุงสถานศึกษา ให้การศึกษาทุก ๆ ด้านรวมถึงด้านภาษาสากลอย่างแท้จริง และ มีการสนับสนุนครูสอนดีของโรงเรียนซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา เพื่อให้ได้มาตรฐานรวมทั้ง พัฒนาส่งเสริมการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส และช่วยพัฒนาโรงเรียนประจำตำบลให้เป็นหนึ่ง 2.3 ป้องกันยาเสพติด ให้ความสำคัญเรื่องปัญหายาเสพติดของชุมชน ส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ จัดสถานที่ ออกกำลังกาย เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ส่งเสริมเครือข่าย ทางสังคมและสถาบันทางครอบครัว การเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหายาเสพติด และสนับสนุนให้มี กิจกรรมด้านกีฬา ท้องถิ่นและหน่วยราชการอื่น ๆ ให้กับกลุ่มกีฬา/ชมรมกีฬาเทศบาล ฯลฯ และ ปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายของ รัฐบาล ในการป้อง กันแก้ไขปัญหายาเสพติดของท้องถิ่น 2.4 ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปรับปรุงอุปกรณ์หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจัดหา และปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์เครื่องดับเพลิง สำหรับติดตามจุดที่เกิดสาธารณภัยในเขตชุมชนหนาแน่น อุปกรณ์การจราจรการจัดตั้งจุดตรวจต่าง ๆ จัดฝึกอบรมหน่วยงาน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และประชาชนในเรื่องการป้องกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนป้องกันภัยพิบัติ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 2.5 ด้านสาธารณสุข ส่งเสริมด้านสวัสดิการและสังคม ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านสุขภาพอนามัยของ ประชาชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสจัดให้มีสถานที่และบุคลากรดูแลให้ความอบอุ่นอย่างทั่วถึง อย่างมีคุณภาพและพึ่งพาตนเองได้ โดยการพัฒนาด้านการสาธารณสุขทางด้านสุขภาพร่างกายและ สุขภาพจิตใจ และส่งเสริมสนับสนุนให้มีแพทย์แผนปัจจุบันประจำโรงพยาบาลประจำตำบล และ ปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนผู้สูงอายุตามนโยบายของรัฐบาล 3. ด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่ควรแก่การอนุรักษ์ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาวัด ประจำตำบลให้เป็นศูนย์ศึกษาศีลธรรม จริยธรรมและเป็นแหล่งอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน 4. ด้านการบริหารราชการ เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรของรัฐรูปแบบหนึ่งที่มีหน้าที่สำคัญ ต่อชีวิตและความเป็นอยู่ทุกระดับ มีนโยบายด้านการบริหารราชการ การบริการประชาชน ถือเป็นสิ่งสำคัญเป็น อย่างยิ่ง เน้นการบริการให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องตามระเบียบ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติงาน มีความเสมอภาคทุกส่วน ทั้งผู้บริหารท้องถิ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ของเทศบาล เพื่อสร้างสำนึกที่ดีในการ บริหารงานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และปฏิบัติ ให้เป็นไปตามนโยบายที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลโดย กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นนโยบายอันดับแรกของการบริหารงานที่มีผลประโยชน์ เพื่อพี่น้องประชาชนและตามความต้องการของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง 5. ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาท และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบบยั่งยืน โดยการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการและรณรงค์ การกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี โดยจัดให้มีรถยนต์เก็บขน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ที่ออกกำลังกาย จัดให้มีพื้นที่สวนสาธารณะและ สนามกีฬาชุมชน 6. ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวกในการเดินทางปรับปรุงถนนให้สะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น พัฒนาและปรับปรุงระบบน้ำประปาของเทศบาลให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพียงพอประชาชน สามารถใช้น้ำประปาอย่างใสสะอาดและทั่วถึง ตลอดจนการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ และ ขยายเขตไฟฟ้าตามชุมชนต่าง ๆ ให้ทั่วถึง เพื่อให้แสงสว่างยามค่ำคืน 7. สนับสนุนการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย โดยจัดให้มีการอบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่เด็กและเยาวชนประชาชนในเขตเทศบาล เพื่อพัฒนาให้มีความรู้เรื่องการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และปลูกฝังให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ารักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง ยุทธศาสตร์ 1. ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ 2. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ เป้าประสงค์ 1. ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน 2. พัฒนาความรู้ด้านการเกษตรสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพกับประชาชน และส่งเสริมการท่องเที่ยว 3. ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น 4. ให้ความรู้เรื่องการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยโดยมีประมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข 5. ประชาชนมีน้ำประปาที่สะอาดใช้อย่างเพียงพอตลอดจนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ที่ครบครัน 6. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการศึกษา ห่างไกลยาเสพติด มีความมั่นคงในชีวิต และทรัพย์สิน และมีสุขภาพที่ดี 7. การบริการทุกระดับด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องตามระเบียบ ขั้นตอน และมีความเสมอภาค และเท่าเทียม |
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศที่ตั้ง ชื่อตำบลท่าเสา ได้มาโดยที่ว่าสมัยก่อนนั้น บ้านท่าเสามีสถานีรถไฟที่ชุมชน บริเวณน้ำตกไทรโยค-น้อย ประกอบกับชุมชนบริเวณนั้น ที่มีอาชีพ ชัก - ลากไม้ เป็นประเภทเสาเรือนร้อย และได้ลากไม้เสาลงไปท่าน้ำ เพื่อลำเลียงลงไปยังที่อื่น จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า หมู่บ้านท่าเสา และด้วยความที่มีชุมชนอยู่หนาแน่นและมีความเจริญ อยู่มากกว่าหมู่บ้านอื่น จึงใช้หมู่บ้านนี้ ตั้งชื่อเป็น ตำบลท่าเสา เมื่อ พ.ศ. 2512 เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2538 มีระยะห่าง จากอำเภอไทรโยค ประมาณ 20 กิโลเมตร ระยะห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร มีพื้นที่ ทั้งหมด ประมาณ 310 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 193,781 ไร่ ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน ทิศเหนือ จด ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ จด ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันออก จด ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันตก จด แม่น้ำแควน้อยตลอดแนว ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศทั่วไป เป็นที่ราบสูง ด้านทิศตะวันออก มีเทือกเขาเกือบตลอดแนว เป็นพื้นที่ ตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำ อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 40.9 องศา อุณหภูมิเฉลี่ยต่ าสุด 9.3 องศา และมีฝนตกชุก ในโซนท่าเสาตอนบน ลักษณะภูมิอากาศ ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝุายใต้พัดมาปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกชุกโดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูง จากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นและ ความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 23.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด โดยเฉลี่ย 34.0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 13.1 องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2539) อุณหภูมิสูงสุด วัดได้ 40.9 องศาเซลเซียส (เมื่อ 1 เมษายน 2539) ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 1,496.2 มิลลิเมตร/ปี ลักษณะของดิน ดิน หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลก เกิดจากการแปรสภาพหรือสลายตัวของหิน แร่ธาตุ และอินทรีย์วัตถุผสมคลุกเคล้ากันตามธรรมชาติรวมกันเป็นชั้นบาง ๆ เมื่อมีน้ำและอากาศ ที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพอยู่ได้ เนื่องจากภาคตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเขตเทือกเขาสูง เพราะฉะนั้นวัตถุแม่ดิน หรือแหล่งกำเนิด ดินต้องเกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด ดังนั้นดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ดินชนิดนี้ เรียกว่า ดินเรดเยลโล-พอดโซลิก (Red-yellow Podolia Soils) ดินชนิดนี้ มีในเขตภูเขาที่เป็นกรด ส่วนในเขตที่มี หินปูน เช่น บริเวณเทือกเขาในเขตอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และบริเวณ ปลายเทือกเขาถนนธงชัยระหว่าง แม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อยจะเป็นพวกเรด-บราวด์ เอิท (Red-Brown earth) นอกจากนั้นยังมีดินที่เกิดจากการ สลายตัวของสารหรือ หินภูเขาไฟ เราเรียกว่า ดินภูเขาไฟ ได้แก่พื้นที่บริเวณจังหวัดตาก เขตอำเภออุ้มผาง ที่ราบลุ่มน้ำแควน้อย เขตอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และบริเวณแก่งกระจาน เป็นต้น ในด้านสมรรถนะของที่ดินในภาคตะวันตกปรากฏว่าพื้นที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่ มีประมาณ 25 % ของเนื้อที่ภาค ทำนา 5% ที่เหลือ 70 % ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะเป็น ที่ลาดชันมาก หรือ มีดินเป็นทรายจัด ลักษณะของแหล่งน้ำ • แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ, ลำห้วย - สาย - บึง หนองและอื่น - แห่ง • แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นและสามารถใช้การได้ - ฝาย - แห่ง - บ่อน้ำตื้น - บ่อ - บ่อบาดาล - แห่ง - สระน้ำ 2 แห่ง ลักษณะของไม้และป่าไม้ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง มีไม้ไผ่เป็นไม้เรือนยอดชั้นกลาง เช่น ไม้รวก ไม้ไผ่ป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีป่าสัก ซึ่งขึ้นอยู่ในแนวแถบสองฝั่งแม่น้ำแควน้อย ปาเต็งลังเป็นส่วนน้อย ส่วนป่าดงดิบชื้นมีอยู่ทางด้านตรงข้ามฝั่งแม่นำแควน้อยไปจนติดชายแดน ประเทศพม่า |
การเมืองการปกครองเขตการปกครอง ตำบลท่าเสาแบ่งเขตการปกครองเป็น 11 หมู่บ้าน ได้แก่ - หมู่ที่ 1 บ้านช่องแคบ - หมู่ที่ 2 บ้านวังใหญ่ - หมู่ที่ 3 บ้านท่าเสา - หมู่ที่ 4 บ้านพุองกะ - หมู่ที่ 5 บ้านพุพง - หมู่ที่ 6 บ้านพุม่วง - หมู่ที่ 7 บ้านพุมุด - หมู่ที่ 8 บ้านพุเตย - หมู่ที่ 9 บ้านวังเขมร - หมู่ที่ 10 บ้านหนองตาม่วง - หมู่ที่ 11 บ้านพุลาด - จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทั้งหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้าน การเลือกตั้ง • แบ่งเขตการเลือกตั้งตามจำนวนหมู่บ้าน ตำบลท่าเสาแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 11 หน่วย ได้แก่ - หน่วยที่ 1 หมู่ที่ 1 บ้านช่องแคบ - หน่วยที่ 2 หมู่ที่ 2 บ้านวังใหญ่ - หน่วยที่ 3 หมู่ที่ 3 บ้านท่าเสา - หน่วยที่ 4 หมู่ที่ 4 บ้านพุองกะ - หน่วยที่ 5 หมู่ที่ 5 บ้านพุพง - หน่วยที่ 6 หมู่ที่ 6 บ้านพุม่วง - หน่วยที่ 7 หมู่ที่ 7 บ้านพุมุด - หน่วยที่ 8 หมู่ที่ 8 บ้านพุเตย - หน่วยที่ 9 หมู่ที่ 9 บ้านวังเขมร - หน่วยที่ 10 หมู่ที่ 10 บ้านหนองตาม่วง - หน่วยที่ 11 หมู่ที่ 11 บ้านพุลาด |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสภาพทางเศรษฐกิจ การเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะตั้งบ้านเรือนในบริเวณ 11 หมู่บ้าน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา คือ บ้านช่องแคบ บ้านวังใหญ่ บ้านท่าเสา บ้านพุองกะ บ้านพุงพง บ้าน พุม่วง บ้านพุมุด บ้านพุเตย บ้านวังเขมร บ้านหนองตาม่วง บ้านพุลาด บางส่วน โดยจะปลูกพืชหลักๆ คือ มัน สำปะหลัง ข้าวโพด มะเขือ พริก มะขาม ส้มโอ ปลูกยางพารา เป็นต้น โดยคิดเป็น 40% ของจำนวนประชากร ทั้งหมด การบริการ ด้านการบริการก็จะเป็นร้านเสริมสวย ร้านซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ โดยรวมแล้วก็มีอยู่ประมาณ 50 ราย การท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสาเป็นย่านธุรกิจการค้า พาณิชกรรม ธุรกิจการท่องเที่ยว ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และการบริการรับจ้างต่างๆ ซึ่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ท่าเสา มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามหลายแห่งด้วยกัน เช่น น้ำตกไทรโยคน้อย ถ้ำเจ้าแม่กวนอิม สำนักสงฆ์ถ้ำแม่ชีวงกต พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดที่สวยงามและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั้งในประเทศ และต่างประเทศมีแพรับส่งนักท่องเที่ยว ที่ล่องแพเที่ยวชมความสวยงามของสองฝั่งแม่น้ำแควน้อย รวมทั้งมีถ้ำต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการ สำรวจและประกาศให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อีกทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา เป็นทางผ่านในการเดินทาง ต่อไปยังอำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีแหล่ง ท่องเที่ยวอีกมากมมาย จะเห็นได้ว่าประชาชนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา สามารถสร้างรายได้จากการที่มี แหล่งท่องเที่ยว การค้าขาย การให้บริการทั้งด้านอาหาร ที่พักรถยนต์โดยสารรับส่งนักท่องเที่ยว การจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองของที่ระลึก และอื่น ๆ แก่นักท่องเที่ยว นักทัศนาจรทั้งชาวไทยและ ต่างประเทศ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพทางสังคม อาชญากรรม ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา มีป้อมจุดตรวจ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ จุดตรวจตำบลท่าเสา ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ปูอมทับศิลา ยาเสพติด ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา มีป้อมจุดตรวจ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ จุดตรวจตำบลท่าเสา ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ป้อมทับศิลา และ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 (ตม.) ด่านตรวจคนเข้าเมือง การสังคมสงเคราะห์ ข้อมูลผู้รับเบี้ยยังชีพมี 3 ประเภท ได้แก่ 1. ผู้สูงอายุ จำนวน 648 ราย 2. คนพิการ จำนวน 114 ราย 3. ผู้ปุวยเอดส์ จำนวน 7 ราย
|
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมการศึกษา ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ มีสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 6 แห่ง ประกอบด้วย
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 แห่ง 1. โรงเรียนพุทธวิมุติวิทยา หมู่ 7 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน - แห่ง - ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลท่าเสา 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง - ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์บ้านพุตะเคียน 1 แห่ง ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา สถาบันและองค์กรศาสนา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา ประกอบด้วย วัด จำนวน 8 แห่ง สำนักสงฆ์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
ประเพณีและงานประจำปี ประเพณีที่สำคัญๆ ของชาวองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา คือ 1. ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา 2. ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น 1. น้ำหมักชีวภาพ 2. ผลิตน้ำยาล้างจาน 3. การถนอมอาหาร เช่น ดองหน่อไม้ นำผลไม้มาแช่อิ่ม 4. การสานตะกร้า สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก สินค้าพื้นเมืองขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา ก็จะเป็น กล้วยฉาบ เผือกฉาบ มะขามปูอมแช่อิ่ม มะขามยักษ์แช่อิ่ม หน่อไม้ต้ม หน่อไม้แห้ง ไส้อั่ว หมูพะโล้แดดเดียว
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติการบริการพื้นที่ การคมนาคมขนส่ง 1. ถนนลาดยาง 3 สาย 2. ถนนลูกรัง 81 สาย การไฟฟ้า การให้บริการด้านกระแสไฟฟ้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อยู่ในความดูแล รับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอไทรโยค จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง ทั้ง 11 หมู่บ้าน แต่ครอบคลุมไม่ครบทุกหลังคาเรือน การประปา ระบบประปาหมู่บ้าน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ระบบประปาผิวดิน 2) ระบบประปาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ สาธารณสุข สถานพยาบาลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเสา ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลบ้านพุเตย ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 และมีอัตราการใช้ส้วมราดน้ า 100% ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง - เสียงตามสายและหอกระจายข่าวครอบคลุมทุกหมู่บ้าน โทรศัพท์ เครือข่ายโทรศัพท์และสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในพื้นที่ก็จะเป็นของผู้ให้บริการ TT&T TOT CAT และ 3BB ส่วนใหญ่ประชาชนจะใช้โทรศัพท์มือถือซึ่งก็มีทั้งระบบ AIS , True , DTAC ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสามีที่ทำการไปรษณีย์สาขา จำนวน 1 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ใน ตลาดท่าเสา มีการส่งและแจกวันละ 1 ครั้ง คือ 08.30-9.00 น.รับเอกสาร จดหมาย พัสดุ เพื่อนำลงไปที่ไปรษณีย์ที่ตัวอำเภอ และช่วงบ่ายก็จะนำจดหมาย พัสดุ นำมาแจกจ่าย การเงินการธนาคาร ในพื้นที่เทศบาลมีธนาคาร จำนวน 2 แห่ง คือ 1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน สาขาไทรโยค 2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาไทรโยค ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญมีอยู่ 1 แหล่ง คือ แม่น้ำแคว ป่าไม้ พื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสาส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะเป็นป่าเบญจพรรณ มีไม้หลากหลายชนิด เป็นป่าที่มีพรรณไม้เด่น 5 ชนิด ตามความหมายของ คำว่า “เบญ จะ” คือ ห้า ได้แก่ ไม้สัก มะค่า แดง ประดู่ และชิงชัน พบป่าชนิดนี้ในบริเวณที่มีฤดูกาล แบ่งแยกชัดเจน มีช่วงแห้งแล้งยาวนานเกินกว่า 3 เดือน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50-800 เมตรเหนือระดับน้ าทะเล ต้นไม้เกือบทั้งหมด ในป่าเบญจพรรณจะผลัดใบในฤดูแล้ง โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงเมษายน คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว คือ พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด มาช้านาน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงถือว่าเป็นสถานที่ ทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งมีสถานที่อื่น ๆ อีกที่อยู่ใกล้ ๆ กับพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด เช่น น้ำตก ฯ ถ้ำวังบาดาลซึ่งอยู่ในเขตอุทยาน แห่งชาติเอราวัณ ค่ายเชลยศึกที่อยู่ในเขตเทศบาลที่รอการขุดค้น และประกาศเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ อีกแห่งจากกรมศิลปากร และยังมีแหล่งชุมชนเก่าแก่ ที่รอการขุดค้นอยู่ตรงสะพานคอนกรีตข้ามไปวังกระแจะ ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาเป็นอีกหนึ่ง แหล่งท่องเที่ยว โดยมีท่าเรือปากแซงที่จะจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รองรับนักท่องเที่ยวและ ประชาชนในการใช้พักผ่อนโดยภาพรวมแล้วองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสามีศักยภาพ ในการท่องเที่ยวสูงพอสมควร |
ข้อมูลหน่วยงานและอำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (ตามมาตรา 16) 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. การจัดให้มีและบำรุงรักษา ทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ 5. การสาธารณูปการ 6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9. การจัดการศึกษา 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การส่งเสริมกีฬา 15.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 18.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 19.การสาธารสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20.การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน 21.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 23.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ 24.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 25.การผังเมือง 26.การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร 27.การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28.การควบคุมอาคาร 29.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 31.กิจการอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร มาตรา 68 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (2) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ (5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ (6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ (12) การท่องเที่ยว (13) การผังเมือง |
สำนักปลัดให้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลและราชการ ที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ หน้าที่และความรับผิดชอบ การปกครองบังคับบัญชา พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง ขององค์การบริหารส่วนตำบล การบริหารงานบุคคล และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง |
กองคลัง ให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการเบิกจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบ ใบสำคัญฎีกาเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จบำนาญ เงินอื่น ๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลอง ประจำเดือน ประจำปี งานการจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนารายได้ งานเกี่ยวกับพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล งานจัดทำตรวจสอบบัญชีและการรับเงินในกิจการประปา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ได้รับมอบหมาย |
กองช่างให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดลองคุณภาพวัสดุ งานออกแบบเขียนแบบ การตรวจสอบการก่อสร้าง งานควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติ งานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติ ติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงาน เครื่องจักรกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงานควบคุม เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและ ได้รับมอบหมาย |